วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บทที่ 2 การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

1.บอกข้อแตกต่างของการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing) กับการค้าปลีกรูปแบบเดิม
ตอบ--
การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing: E- Retailing หรือ E-Tailing) หมายถึง การขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคโดยตรงผ่านอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องผ่านคนกลางแต่อย่างใด และเรียกบริษัทที่ทำธุรกิจวิธีนี้ว่า “ผู้ค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailer หรือ E-Tailer)”
ส่วนค้าปลีกธรรมดาคือไม่ผ่านอินเทอร์เน็ต




2.สินค้าและบริการที่จะเสนอขายผ่านร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ควรมีคุณลักษณะเช่นใด
ตอบ--
สินค้าและบริการที่เสนอขายบนร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มีอยู่หลายชนิด เช่น หนังสือ ดนตรี เสื้อผ้า เครื่องประดับ บริการด้านการท่องเที่ยว บริการธุรกรรมทางการเงิน และบริการซื้อขายหุ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ให้ประสบความสำเร็จ สินค้าและบริการควรมีคุณลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้



ชื่อตราสินค้า (Brand) สามารถจดจำได้ง่าย หรือเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

มีการรับประกันคุณภาพของสินค้าหรือบริการหลังการขาย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

สินค้าและบริการควรมีมาตรฐานรองรับ เพื่อให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

เป็นสินค้าที่อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ดิจิตอล (Digital Product) ได้ เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ หรือซอฟแวร์ เป็นต้น

หากเป็นสินค้าที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ควรมีราคาถูกกว่าราคาปกติ

เป็นสินค้าที่ได้รับการบรรจุห่อแน่นหนา ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าสินค้าจะไม่ถูกเปิดออกก่อนส่งถึงมือลูกค้า




3.อธิบายแบบจำลองการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภทมาพอสังเขป
ตอบ--
- แบ่งตามแหล่งที่มาของรายได้
1. Subscription
2. Transaction fee
3. Advertising
4. Sponsorship
- แบ่งตามคุณลักษณะของเว็บไซต์
1. Direct Marketing
2. Pure E-Retailing หรือ Full cybermarketing
3. Mixed Retailing หรือ Partial cybermarketing




4.ยกตัวอย่างเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์มา 3 ชนิด
ตอบ--
-----------เว็บไซต์ท่าขายสินค้า (Shopping Portals Site)

หมายถึง เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางสำหรับการขายสินค้าและบริการ ซึ่งเปรียบได้กับห้างสรรพสินค้าที่รวบรวมผู้ขายสินค้ารายต่าง ๆ เอาไว้ แล้วจัดหมวดหมู่ของสินค้าและบริการอย่างเป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังผู้ขายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้เว็บไซต์ท่ายังให้บริการเปรียบเทียบข้อมูลสินค้าและบริการตามราคา ประเภท คุณสมบัติ และเงื่อนไขของผู้ซื้อด้วย โดยเว็บไซต์ท่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เว็บไซต์ท่าที่ขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Special Niche) เช่น www.krungthongplaza.com และเว็บไซต์ท่าที่ขายสินค้าและบริการหลากหลายชนิด (Comprehensive) เช่น http://market.yellowpages.co.th

-----------เว็บไซต์ตัวแทนปัญญา (Shopbots Software Agent)

หรือที่เรียกว่า “Shopping Robot” เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับค้นหาและเปรียบเทียบสินค้าและบริการในด้านต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่ผู้ซื้อต้องการ เช่น เงื่อนไขด้านราคา คุณภาพ และความนิยมของสินค้า เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้มักจะนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) มาประยุกต์ใช้เช่นเดียวกับ

เครื่องมือประเภทเสิร์ชเอนจิ้น ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ เช่น www.pricegrabbler.com,
www.nokia.co.th และ www.mysimon.com เป็นต้น
เว็บไซต์ตัวแทนปัญญายังมีบริการคอยส่งอีเมล์ เพื่อแจ้งข่าวสารไปยังลูกค้าเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น บริษัทจัดลดราคาสินค้า แนะนำสินค้าใหม่ หรือมีการประมูลสินค้ารอบสุดท้าย เป็นต้น รวมถึงการส่งข่าวสารตามความสนใจของลูกค้าที่ได้เคยกรอกรายละเอียด ไว้ในเว็บไซต์นั้นด้วย เช่น ในเว็บไซต์ Yahoo.com มีช่องรายการให้ผู้สมัครสมาชิกคลิกเลือกประเภทข้อมูลที่สนใจจะรับข่าวสารจากทางบริษัท เป็นต้น

-----------เว็บไซต์วัดความนิยมหรือเรทติ้ง (Business Rating Site)
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความนิยม โดยเปรียบเทียบผู้ขายสินค้าและบริการแต่ละรายผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้ซื้อได้ระบุความต้องการที่จะเปรียบเทียบ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ เช่น www.bizrate.com และ www.gomez.com

5.อธิบายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มาพอสังเขป
ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) กล่าวคือ ธุรกิจไม่ควรมุ่งเน้นถึงผลกำไรจากการขายสินค้ามากจนเกินไป แต่ควรกำหนดราคาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และหากพบว่ามีสินค้าบางรายการอาจให้ผลกำไรไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ก็ไม่ควรนำมาเสนอขายด้วยวิธีนี้

ตราสินค้า (Branding) ตราสินค้าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากลูกค้า

จะใช้วิธีจดจำชื่อตราสินค้าเพื่อจำแนกสินค้าของผู้ผลิตแต่ละราย ดังนั้น บริษัทควรส่งเสริมให้ลูกค้าสามารถจดจำตราสินค้าของตนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจใช้วิธีโฆษณาด้วยการแลกเปลี่ยนลิงค์ชื่อตราสินค้าระหว่างกันหรือโฆษณาผ่านทางเสิร์ชเอ็นจิ้นและเว็บไซต์ไดเรกทอรีก็ได้ ทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงต้นทุนของค่าโฆษณาด้วย ซึ่งไม่ควรมีราคาสูงจนเกินไป

ประสิทธิภาพ (Performance) หมายถึง ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะรองรับ และสนับสนุนการทำงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะต้องมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงและให้บริการได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเว็บไซต์จะต้องแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว เพราะหากแสดงผลล่าช้าจนเกินไป ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความเบื่อหน่ายจนละทิ้งเว็บไซต์ของบริษัทได้

การออกแบบเว็บไซต์ (Web Site Design) จำเป็นต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์ในการนำเสนอ โดยควรจัดทำเว็บไซต์ให้มีความโดดเด่นและน่าสนใจ เพื่อดึงดูดใจให้ลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อสินค้าหรือกลับมาเยี่ยมชมอีก

การรักษาความปลอดภัย (Security) เพื่อลดความกังวลของลูกค้าเมื่อต้องทำธุรกรรมด้านการเงินบนเว็บ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดและน่าเชื่อถือ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ สามารถตัดสินใจทำธุรกรรมกับผู้ประกอบการได้ง่าย


6.การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในขั้นตอนซื้อ-ขายสินค้า จัดว่าเป็นกลยุทธ์การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์แบบใด

ตอบ--
การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว

บทที่ 3 การโฆษณาบนเว็บ

1.การโฆษณาบนเว็บ (Web Advertising) คืออะไร

การขายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สินค้าและบริการของบริษัทเป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคผ่านทางสื่อโฆษณาที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น แต่สื่อโฆษณาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการตลาดแบบติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว (One-way Communication)


2.บอกข้อแตกต่างระหว่าง Ad Views และ Ad Click

แอดวิวส์ (Ad Views/Impression/Page Views) เป็นจำนวนครั้งที่ลูกค้าเห็นหน้าเว็บที่มีป้ายโฆษณา (Banner)ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งตามที่กำหนดไว้

แอดคลิก (Ad-Click / Click-Through) เป็นการนับจำนวนครั้งที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์คลิกที่ป้ายโฆษณาในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อไปยังเว็บไซต์ปลายทาง


3.CPM (Cost Per Thousand Impression) คืออะไร

ต้นทุนที่ผู้โฆษณาจะต้องจ่ายเป็นค่าป้ายโฆษณา


4.Conversion Rate ของเว็บไซต์ที่มีจำนวนผู้เยี่ยมชม 100 คน แต่มีผู้ซื้อสินค้าจริง 50 คน มีค่าเท่าใด

50%

5.Click Through Ratio เมื่อมีผู้เยี่ยมชมเปิดเพจที่มีโฆษณา 150 เพจ แต่คลิกเข้าไปดูโฆษณาจริง 20 ครั้ง มีค่าเท่าใด

30%

6.บอกข้อแตกต่างระหว่าง Banner Swapping และ Banner Exchange
Banner Swapping ข้อตกลงทางธุรกิจระหว่างบริษัท 2 บริษัท เพื่อแลกเปลี่ยนแบนเนอร์ระหว่างกัน โดยแต่ละฝ่ายจะนำแบนเนอร์ของอีกฝ่ายไปแสดงไว้บนเว็บเพจของตน

Banner Exchange แหล่งแลกเปลี่ยนแบนเนอร์ระหว่างบริษัทต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดขึ้น โดยสามารถจัดการแลกเปลี่ยนแบนเนอร์ตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป


7.อธิบายข้อจำกัดของการโฆษณาแบบป๊อปอัพ (Pop-Up) พอสังเขป
Pop-Up Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่ และจะปรากฏขึ้นพร้อมกับเว็บเพจที่มีโฆษณาสินค้านั้น โดย Pop-Up โฆษณาจะอยู่ด้านบนของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ (Active Window)

Pop-Under Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่เช่นเดียวกับ Pop-Up แต่จะอยู่ด้านล่างของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องปิดเว็บเพจนั้นเสียก่อน จึงจะเห็นหน้าโฆษณานี้



8.ยกตัวอย่างกลยุทธ์ที่ใช้ในการโฆษณาบนเว็บมา 5 ชนิด อธิบายพอสังเขป
8.1.การโฆษณาผ่านทางอีเมล์
8.2.การโฆษณาผ่านทาง URL
8.3. การโฆษณาผ่านห้องสนทนาและบล็อก
8.4.การโฆษณาผ่านเกมส์ออนไลน์
8.5.การโฆษณาผ่านช่องทางอื่น ๆ

9.หากบริษัทคิดค่าโฆษณาจาก Click –Through บริษัทจะต้องเสียค่าโฆษณาเท่าใด ถ้าต้องการให้มีป้ายโฆษณาปรากฏขึ้นมา 100,000 ครั้ง โดยที่ป้ายโฆษณาของบริษัทที่ปรากฏขึ้นมา 1,000 ครั้ง จะมีผู้ชมคลิกที่โฆษณา 75 ครั้ง และทุกครั้งที่ผู้ชมคลิกที่ป้ายโฆษณา บริษัทจะต้องเสียค่าใช้จ่าย 5 บาท

37500 บาท

10.E-Catalog คืออะไร
รายการสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการได้สะดวกขึ้น รายการสินค้าจะถูกนำเสนอในรูปแบบโบรชัวร์ (Brochure)

11.บอกข้อแตกต่างระหว่างการใช้ E-Catalog และการนำเสนอสินค้าแบบโบร์ชัวร์มา 5 ข้อ






















12.เสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) คืออะไร

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตได้ โดยจะทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีคีย์เวิร์ด (Keyword) ตรงกับที่ผู้ใช้ระบุไว้ แล้วนำมาแสดงผลลัพธ์ด้วยกลไกการทำงานของเสิร์ชเอนจิ้น จึงช่วยลดภาระด้านต้นทุนและเวลาที่ใช้ค้นหาข้อมูลเป็นอย่างมาก

13.ตัวแทนปัญญา (Intelligent Agent) คืออะไร

โปรแกรมที่มีขีดความสามารถมากกว่าเสิร์ชเอนจิ้น นิยมนำมาใช้จัดการกับงานประจำ (Routine Tasks) ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด เช่น การเฝ้าระวังการทำงานบนเว็บ โดยคอยตรวจสอบและแจ้งเตือนผู้ใช้ หากพบว่าผู้ใช้เข้าไปใช้งานในส่วนพื้นที่ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น