วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บทที่ 2 การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

1.บอกข้อแตกต่างของการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing) กับการค้าปลีกรูปแบบเดิม
ตอบ--
การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing: E- Retailing หรือ E-Tailing) หมายถึง การขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคโดยตรงผ่านอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องผ่านคนกลางแต่อย่างใด และเรียกบริษัทที่ทำธุรกิจวิธีนี้ว่า “ผู้ค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailer หรือ E-Tailer)”
ส่วนค้าปลีกธรรมดาคือไม่ผ่านอินเทอร์เน็ต




2.สินค้าและบริการที่จะเสนอขายผ่านร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ควรมีคุณลักษณะเช่นใด
ตอบ--
สินค้าและบริการที่เสนอขายบนร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มีอยู่หลายชนิด เช่น หนังสือ ดนตรี เสื้อผ้า เครื่องประดับ บริการด้านการท่องเที่ยว บริการธุรกรรมทางการเงิน และบริการซื้อขายหุ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ให้ประสบความสำเร็จ สินค้าและบริการควรมีคุณลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้



ชื่อตราสินค้า (Brand) สามารถจดจำได้ง่าย หรือเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

มีการรับประกันคุณภาพของสินค้าหรือบริการหลังการขาย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

สินค้าและบริการควรมีมาตรฐานรองรับ เพื่อให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

เป็นสินค้าที่อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ดิจิตอล (Digital Product) ได้ เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ หรือซอฟแวร์ เป็นต้น

หากเป็นสินค้าที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ควรมีราคาถูกกว่าราคาปกติ

เป็นสินค้าที่ได้รับการบรรจุห่อแน่นหนา ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าสินค้าจะไม่ถูกเปิดออกก่อนส่งถึงมือลูกค้า




3.อธิบายแบบจำลองการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภทมาพอสังเขป
ตอบ--
- แบ่งตามแหล่งที่มาของรายได้
1. Subscription
2. Transaction fee
3. Advertising
4. Sponsorship
- แบ่งตามคุณลักษณะของเว็บไซต์
1. Direct Marketing
2. Pure E-Retailing หรือ Full cybermarketing
3. Mixed Retailing หรือ Partial cybermarketing




4.ยกตัวอย่างเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์มา 3 ชนิด
ตอบ--
-----------เว็บไซต์ท่าขายสินค้า (Shopping Portals Site)

หมายถึง เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางสำหรับการขายสินค้าและบริการ ซึ่งเปรียบได้กับห้างสรรพสินค้าที่รวบรวมผู้ขายสินค้ารายต่าง ๆ เอาไว้ แล้วจัดหมวดหมู่ของสินค้าและบริการอย่างเป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังผู้ขายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้เว็บไซต์ท่ายังให้บริการเปรียบเทียบข้อมูลสินค้าและบริการตามราคา ประเภท คุณสมบัติ และเงื่อนไขของผู้ซื้อด้วย โดยเว็บไซต์ท่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เว็บไซต์ท่าที่ขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Special Niche) เช่น www.krungthongplaza.com และเว็บไซต์ท่าที่ขายสินค้าและบริการหลากหลายชนิด (Comprehensive) เช่น http://market.yellowpages.co.th

-----------เว็บไซต์ตัวแทนปัญญา (Shopbots Software Agent)

หรือที่เรียกว่า “Shopping Robot” เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับค้นหาและเปรียบเทียบสินค้าและบริการในด้านต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่ผู้ซื้อต้องการ เช่น เงื่อนไขด้านราคา คุณภาพ และความนิยมของสินค้า เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้มักจะนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) มาประยุกต์ใช้เช่นเดียวกับ

เครื่องมือประเภทเสิร์ชเอนจิ้น ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ เช่น www.pricegrabbler.com,
www.nokia.co.th และ www.mysimon.com เป็นต้น
เว็บไซต์ตัวแทนปัญญายังมีบริการคอยส่งอีเมล์ เพื่อแจ้งข่าวสารไปยังลูกค้าเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น บริษัทจัดลดราคาสินค้า แนะนำสินค้าใหม่ หรือมีการประมูลสินค้ารอบสุดท้าย เป็นต้น รวมถึงการส่งข่าวสารตามความสนใจของลูกค้าที่ได้เคยกรอกรายละเอียด ไว้ในเว็บไซต์นั้นด้วย เช่น ในเว็บไซต์ Yahoo.com มีช่องรายการให้ผู้สมัครสมาชิกคลิกเลือกประเภทข้อมูลที่สนใจจะรับข่าวสารจากทางบริษัท เป็นต้น

-----------เว็บไซต์วัดความนิยมหรือเรทติ้ง (Business Rating Site)
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความนิยม โดยเปรียบเทียบผู้ขายสินค้าและบริการแต่ละรายผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้ซื้อได้ระบุความต้องการที่จะเปรียบเทียบ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ เช่น www.bizrate.com และ www.gomez.com

5.อธิบายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มาพอสังเขป
ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) กล่าวคือ ธุรกิจไม่ควรมุ่งเน้นถึงผลกำไรจากการขายสินค้ามากจนเกินไป แต่ควรกำหนดราคาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และหากพบว่ามีสินค้าบางรายการอาจให้ผลกำไรไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ก็ไม่ควรนำมาเสนอขายด้วยวิธีนี้

ตราสินค้า (Branding) ตราสินค้าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากลูกค้า

จะใช้วิธีจดจำชื่อตราสินค้าเพื่อจำแนกสินค้าของผู้ผลิตแต่ละราย ดังนั้น บริษัทควรส่งเสริมให้ลูกค้าสามารถจดจำตราสินค้าของตนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจใช้วิธีโฆษณาด้วยการแลกเปลี่ยนลิงค์ชื่อตราสินค้าระหว่างกันหรือโฆษณาผ่านทางเสิร์ชเอ็นจิ้นและเว็บไซต์ไดเรกทอรีก็ได้ ทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงต้นทุนของค่าโฆษณาด้วย ซึ่งไม่ควรมีราคาสูงจนเกินไป

ประสิทธิภาพ (Performance) หมายถึง ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะรองรับ และสนับสนุนการทำงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะต้องมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงและให้บริการได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเว็บไซต์จะต้องแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว เพราะหากแสดงผลล่าช้าจนเกินไป ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความเบื่อหน่ายจนละทิ้งเว็บไซต์ของบริษัทได้

การออกแบบเว็บไซต์ (Web Site Design) จำเป็นต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์ในการนำเสนอ โดยควรจัดทำเว็บไซต์ให้มีความโดดเด่นและน่าสนใจ เพื่อดึงดูดใจให้ลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อสินค้าหรือกลับมาเยี่ยมชมอีก

การรักษาความปลอดภัย (Security) เพื่อลดความกังวลของลูกค้าเมื่อต้องทำธุรกรรมด้านการเงินบนเว็บ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดและน่าเชื่อถือ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ สามารถตัดสินใจทำธุรกรรมกับผู้ประกอบการได้ง่าย


6.การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในขั้นตอนซื้อ-ขายสินค้า จัดว่าเป็นกลยุทธ์การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์แบบใด

ตอบ--
การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว

บทที่ 3 การโฆษณาบนเว็บ

1.การโฆษณาบนเว็บ (Web Advertising) คืออะไร

การขายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สินค้าและบริการของบริษัทเป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคผ่านทางสื่อโฆษณาที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น แต่สื่อโฆษณาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการตลาดแบบติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว (One-way Communication)


2.บอกข้อแตกต่างระหว่าง Ad Views และ Ad Click

แอดวิวส์ (Ad Views/Impression/Page Views) เป็นจำนวนครั้งที่ลูกค้าเห็นหน้าเว็บที่มีป้ายโฆษณา (Banner)ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งตามที่กำหนดไว้

แอดคลิก (Ad-Click / Click-Through) เป็นการนับจำนวนครั้งที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์คลิกที่ป้ายโฆษณาในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อไปยังเว็บไซต์ปลายทาง


3.CPM (Cost Per Thousand Impression) คืออะไร

ต้นทุนที่ผู้โฆษณาจะต้องจ่ายเป็นค่าป้ายโฆษณา


4.Conversion Rate ของเว็บไซต์ที่มีจำนวนผู้เยี่ยมชม 100 คน แต่มีผู้ซื้อสินค้าจริง 50 คน มีค่าเท่าใด

50%

5.Click Through Ratio เมื่อมีผู้เยี่ยมชมเปิดเพจที่มีโฆษณา 150 เพจ แต่คลิกเข้าไปดูโฆษณาจริง 20 ครั้ง มีค่าเท่าใด

30%

6.บอกข้อแตกต่างระหว่าง Banner Swapping และ Banner Exchange
Banner Swapping ข้อตกลงทางธุรกิจระหว่างบริษัท 2 บริษัท เพื่อแลกเปลี่ยนแบนเนอร์ระหว่างกัน โดยแต่ละฝ่ายจะนำแบนเนอร์ของอีกฝ่ายไปแสดงไว้บนเว็บเพจของตน

Banner Exchange แหล่งแลกเปลี่ยนแบนเนอร์ระหว่างบริษัทต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดขึ้น โดยสามารถจัดการแลกเปลี่ยนแบนเนอร์ตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป


7.อธิบายข้อจำกัดของการโฆษณาแบบป๊อปอัพ (Pop-Up) พอสังเขป
Pop-Up Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่ และจะปรากฏขึ้นพร้อมกับเว็บเพจที่มีโฆษณาสินค้านั้น โดย Pop-Up โฆษณาจะอยู่ด้านบนของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ (Active Window)

Pop-Under Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่เช่นเดียวกับ Pop-Up แต่จะอยู่ด้านล่างของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องปิดเว็บเพจนั้นเสียก่อน จึงจะเห็นหน้าโฆษณานี้



8.ยกตัวอย่างกลยุทธ์ที่ใช้ในการโฆษณาบนเว็บมา 5 ชนิด อธิบายพอสังเขป
8.1.การโฆษณาผ่านทางอีเมล์
8.2.การโฆษณาผ่านทาง URL
8.3. การโฆษณาผ่านห้องสนทนาและบล็อก
8.4.การโฆษณาผ่านเกมส์ออนไลน์
8.5.การโฆษณาผ่านช่องทางอื่น ๆ

9.หากบริษัทคิดค่าโฆษณาจาก Click –Through บริษัทจะต้องเสียค่าโฆษณาเท่าใด ถ้าต้องการให้มีป้ายโฆษณาปรากฏขึ้นมา 100,000 ครั้ง โดยที่ป้ายโฆษณาของบริษัทที่ปรากฏขึ้นมา 1,000 ครั้ง จะมีผู้ชมคลิกที่โฆษณา 75 ครั้ง และทุกครั้งที่ผู้ชมคลิกที่ป้ายโฆษณา บริษัทจะต้องเสียค่าใช้จ่าย 5 บาท

37500 บาท

10.E-Catalog คืออะไร
รายการสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการได้สะดวกขึ้น รายการสินค้าจะถูกนำเสนอในรูปแบบโบรชัวร์ (Brochure)

11.บอกข้อแตกต่างระหว่างการใช้ E-Catalog และการนำเสนอสินค้าแบบโบร์ชัวร์มา 5 ข้อ






















12.เสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) คืออะไร

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตได้ โดยจะทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีคีย์เวิร์ด (Keyword) ตรงกับที่ผู้ใช้ระบุไว้ แล้วนำมาแสดงผลลัพธ์ด้วยกลไกการทำงานของเสิร์ชเอนจิ้น จึงช่วยลดภาระด้านต้นทุนและเวลาที่ใช้ค้นหาข้อมูลเป็นอย่างมาก

13.ตัวแทนปัญญา (Intelligent Agent) คืออะไร

โปรแกรมที่มีขีดความสามารถมากกว่าเสิร์ชเอนจิ้น นิยมนำมาใช้จัดการกับงานประจำ (Routine Tasks) ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด เช่น การเฝ้าระวังการทำงานบนเว็บ โดยคอยตรวจสอบและแจ้งเตือนผู้ใช้ หากพบว่าผู้ใช้เข้าไปใช้งานในส่วนพื้นที่ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แบบฝึกหัดบทที่1 พื้นฐานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1.ข้อแตกต่างระหว่าง E-Business และ E-Commerce
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น จึงมีขอบเขตที่แคบกว่าธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นการดำเนินธุรกิจทุกด้านโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

2.คุณลักษณะสำคัญของ E-Commerce มีอะไรบ้าง
2.1 การมีอยู่ทุกแห่งหน (Ubiquity)
2.2 สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก (Global Reach)
2.3 ใช้มาตรฐานเดียวกัน (Universal Standard)
2.4 ความสมบูรณ์ของข้อมูล (Richness)
2.5 การโต้ตอบ (Interactive) E-Commerce
2.6 ความหนาแน่นของสารสนเทศ (Information Density)
2.7 การปรับแต่ง และสร้างความเป็นส่วนตัว (Personalization/Customization)

3.E-Commerce แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
10 ประเภท คือ
3.1 Business – to – Business (B2B)
3.2 Business-to-Consumer (B2C)
3.3 Consumer-to-Consumer (C2C)
3.4 Consumer-to-Business (C2B)
3.5 Intrabusiness E-Commerce
3.6 Business-to-Employee (B2E)
3.7 Collaborative Commerce (C-Commerce)
3.8 Electronic Government (E-Government)
3.9 Exchange-to-Exchange (E2E)
3.10 Nonbusiness E-Commerce

4.อธิบายแรงผลักดันให้มีการพัฒนา E-Commerce
ความสำเร็จของธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการดำเนินงานภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม คู่แข่ง และเทคโนโลยีเป็นต้น ในที่นี้จึงขอจำแนกแรงผลักดันให้มีการพัฒนา E-Commerce ออกเป็น 2 ประการ คือ การปฏิวัติสู่ยุคดิจิตอล (Digital Revolution) และสภาพเวดล้อมทางธุรกิจ (Business Environment)

5.ยกตัวอย่างกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในองค์กรมา 4 อย่าง

5.1 มีกลยุทธ์ในการรับผิดชอบดูแลเรื่องการประหยัดงบประมาณ การใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2 กำหนดแผนยุทธ์ศาสตร์ด้านความปลอดภัยระบบสารสนเทศให้ชัดเจนและนำไปปฏิบัติจริงได้
5.3 เพิ่มความรู้และมีความรอบรู้เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและไม่ล้าสมัย
5.4 นำองค์กรเข้าสู่มาตรฐานกำหนดความปลอดภัยสารสนเทศที่สากลให้การยอมรับและเตรียมพร้อมสำหรับการตรวจสอบ จากผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศ

6.แบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model) คืออะไร ประกอบด้วยโครงสร้างใดบ้าง
คือ วิธีการดำเนินธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ ทำให้บริษัทสามารดำรงอยู่ต่อไปได้ รวมถึงกิจกรรมช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ กิจกรรมเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ได้จากตัวแบบห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Model)
ประกอบด้วย
6.1 Value Proposition
6.2 Revenue Model
6.3 Market Opportunity
6.4 Competitive Environment
6.5 Competitive Advantage
6.6 Market Strategy

7.ยกตัวอย่างแบบจำลองทางธุรกิจของ E-Commerce มา 5 ชนิด

· Advertising Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการให้เช่าพื้นที่โฆษณา ซึ่งอัตรารายได้จากการให้เช่าโฆษณาจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของเว็บไซต์ที่เป็นผู้ให้เช่าพื้นที่โฆษณา

· Subscription Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการให้บุคคลภายนอกเข้ามาสมัครเป็นสมาชิก อาจเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน รายปี สมาชิกจะได้รับสิทธิพิเศษเพื่อขเชมข้อมูลหรือใช้บริการต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากบริการที่เตียมไว้ให้สำหรับบุคคลภายนอก

· Transaction Fee Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการคิดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมการต้า เช่น คิดค่าขนส่ง ค่าบริการ หรือค่านายหน้าจากการเป็นคนกลางที่จัดให้มีการประมูลออนไลน์ เป็นต้น

· Sale Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการขายสินค้าและบริการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสินค้าที่จับต้องได้ (Physical Product) ที่ต้องมีบริการจัดส่ง หรืออยู่ในรูปของสินค้าดิจิตอล ที่สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ได้

· Affiliate Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากค่านายหน้า หรือส่วนแบ่งทางการค้า ซึ่งได้รับฝากลิงค์(link) บนหน้าเว็บหรือที่เรียกว่าบริการ “Affiliate” เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้สนใจคลิกเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บของลิงค์นั้น แล้วทำธุรกรรมการค้ากับบริษัท

8.บอกข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไป และ E-Commerce
-การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
-การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
-การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
-การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
-การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
-การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
-โครงข่ายเศรษฐกิจ
-การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี


9.ยกตัวอย่างข้อดีและข้อเสียของการพัฒนา E-Commerce มาอย่างละ 5 ข้อ

ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การใช้งานโปรแกรมVMware

1. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน VMware บน Dekstop


2.เลือก YES กด OK


3.เลือก New VirTual


4.กด NEXT


5.เลือก Custom


6.กด Next


7.เลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการติดตั้ง ในที่นี้เป็นระบบปฏิบัติการ Window Server 2003 Standard Edition


8.เลือก Next


9.เลือก One


10.เลือกขนาดความจุของ Memmory ในที่นี้เลือก 384


11.กด Next


12.กด Next


13.กด Next


14.เลือก IDE


15.เลือกขนาดความจุของ Disk Size ในที่นี้เลือก 8 GB


16.กด Finsh


17.กด Close


18.จะได้คอมพิวเตอร์จำลองขึ้นมา 1 เครื่องทันที

การลงโปรแกรมVMware

1. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Setup ในโฟล์เดอร์ VMware


2.กด NEXT


3.เลือกTypcal


4.กด NEXT


5.โปรแกรมจะบอกว่าจะสร้างIconไว้ที่ Destop , All Progream ให้เรากด Next


6.กด Intall


7.รอให้โปรแกรมติดตั้ง


8.เสร็จแล้วเลือด Finsh


9.กรอก Serial Number



10.เครื่องจะถามว่าจะReStart ตอนนี้หรือไม่ ให้กด YES

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คำศัพท์เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

แลน (อังกฤษ: Local Area Network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 2 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ
1. Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ
2. Star เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ
3. Ring เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน

ระบบเครือข่ายแบบ LAN
· ชนิดการเชื่อมต่อของเครือข่าย LAN
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณแลนนั้น จุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งก็คือการแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทรัพยากรเหล่านั้นอาจเป็นหน่วยประมวลผลกลาง CPU ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบคือ
o เครือข่ายแบบพึ่งเครื่องบริการ (Server - based networking)
เป็นการเชื่อมต่อโดยมีเครื่องบริการอยู่ศูนย์กลาง ทำหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ ที่เครื่องผู้ใช้หรือสถานีงาน (Workstation) ร้องขอ รวมทั้งเป็นผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด นั่นคือการติดต่อกันระหว่างเครื่องต่าง ๆ จะต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องผู้ใช้จะทำการประมวลผลในงานของตนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องอื่น ๆ ในระบบ
เครื่องผู้บริการในระบบเครือข่ายชนิดนี้อาจมีได้ 2 รูปแบบคือ
§ เครื่องบริการแบบอุทิศ (Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการทำหน้าที่บริการอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในงานทั่ว ๆไปได้ ข้อดีคือทำให้ระบบมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือไม่สามารถใช้งานเครื่องที่มีราคาสูงได้
§ เครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการยังสามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีข้อเสียที่สำคัญคือมีประสิทธิภาพของเครือข่ายจะลดลง ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน
o เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer - to Peer networking)
เป็นการเชื่อมต่อที่เครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด โดยเครื่องทุกเครื่องสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องผู้ใช้และเครื่องบริการในขณะใดขณะหนึ่ง นั่นคือเครื่องทุกเครื่องเปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) นั่นเอง ในระบบเครือข่ายประเภทนี้การติดต่อระหว่างแต่ละเครื่องจะสามารถติดต่อกันได้โดยตรง มีข้อเสียคือประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลด้อยกว่าแบบแรก ทำให้ไม่เหมาะกับระบบที่มีการใช้งานการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมาก ๆ
























· ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบ LAN
o Network Operating System (NOS)
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย เช่นเดียวกับการที่ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ซึ่งในเครือข่ายแบบ Peer - to - Pear เช่น Windows for Workggroups จะมีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในเครื่องทุกเครื่องของเครือข่าย ในขณะที่ในเครือข่ายแบบ Serverbased เช่น netware หรือ Window NT นั้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่ที่เครื่อง Server ในขณะที่ workstation จะใช้ซอร์ฟแวร์ขนาดเล็กอีกตัวในการติดต่อรับ - ส่งข้อมูลกับ Server
o เครื่องบริการและสถานีงาน (Server and Workstation)
ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบกันเป็นเครือข่ายนั้นเอง โดยเครื่องบริการจะเป็นเครื่องหลักที่มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ แก่สถานีงานหรือโหนด ซึ่งบริการหลัก ๆ ก็คือบริการแฟ้มข้อมูล บริการเครื่องพิมพ์ บริการแฟกซ์ บริการฐานข้อมูล เป็นต้น ส่วน นั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ใช้ในการติดต่อเข้าเครือข่ายนั้นเอง
o แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Netwoirk Interface Card - NIC)
จะเป็นอุปกรณ์ที่เป็นแผงวงจรสำหรับเสียบเข้าช่องต่อขยาย (expansion bus) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถต่อสายของเครือข่ายเข้ามาและทำการติดต่อส่งข้อมูลกับเครือข่ายได้
o ระบบการเดินสาย (Cabling System)
ระบบการเดินสายจะเป็นสื่อที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะประกอบด้วยสายต่าง ๆ คือ UTP/STP , Coaxial , Fiber Optic หรือแม้แต่การเชื่อมกันแบบไร้สาย เช่น Infared หรือสัญญาณวิทยุก็ได้
o ทรัพยากรและอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน (Shared Resources and Peripherals)
จะรวมถึงอุปกรณ์หน่วยความจำถาวร เช่น อาร์ดดิสก์ หรือเทปที่ต่ออยู่กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ตลอดจนเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้ในเครือข่ายที่ได้รับอนุญาตสามารถใช้งานได้
· โครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network Topology) แบบ LAN
ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) สามารถออกแบบการเชื่อมต่อกันของเครื่องในเครือข่าย ให้มีโครงสร้างในระดับกายภาพได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
o โครงสร้างแบบดาว (Star Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกระเทือนกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที

o โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกันถนนที่ข้อมูลจะส่งผ่านไปมาระหว่างแต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องผ่านไปที่ศูนย์กลางก่อน โครงสร้างแบบนี้มีข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก
o โครงสร้างแบบแหวน (Ring Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อ ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน
· วิธีควบคุมการเข้าใช้งานสื่อกลาง (Media Access Control (MAC) Methed)
วิธีในการควบคุบการเข้าใช้งานสื่อกลาง (Media Access Control Methed) จะเป็นข้อตกลงที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสื่อกลาง (ในที่นี้ก็คือสายเคเบิลของเครือข่ายแบบ LAN) ซึ่งทุกโหนดในเครือข่ายจะต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน การทำงานจะเกิดอยู่ในส่วนของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC) และทำงานอยู่ครึ่งท่อนล่างของ Data link Layer คือส่วน MAC Layer
วิธีในการเข้าใช้งานสื่อกลางจะมีอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสียและเหมาะสมกับโทโปโลยีต่าง ๆ กันไป ที่นิยมใช้กันในปัจจบันคือ
o CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Acess/Collision Detection)
เป็นวิธีที่ทุกโหนดของเครือข่ายสามารถเห็นข้อมูลที่ไหลอยู่ในสายสื่อสารของเครือข่าย แต่จะมีแต่โหนดปลายทางที่ระบุไว้เท่านั้นที่จะทำการคัดลอกข้อมูลขึ้นไป ในการส่งข้อมูลด้วยวิธีนี้ ทุกโหนดที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการตรวจสอบสายสื่อสารว่าว่างหรือไม่ หากสายไม่ว่งวโหนดก็ต้องหยุดรอและทำการสุ่มตรวจเข้าไปใหม่เรื่อย ๆ จนเมื่อสัญญาณตอบกลับว่าว่างแล้ว จึงสามารถส่งข้อมูลเข้าไปได้ แต่อย่างไรก็ดี อาจมีกรณีที่ 2 โหนดส่งสัญญาณเข้าไปพร้อมกัน ทำให้เกิดการชนกัน (collision) ขึ้น หารกเกิดกรณีนี้ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องหยุดส่งข้อมูล และรออยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งโหนดที่สุ่มได้ระยะเวลาที่น้อยที่สุดก็จะทำการส่งก่อน หากชนก็หยุดใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะส่งได้สำเร็จ วิธีการใช้สื่อกลางชนิดนี้จะพบมากในโครงสร้างแบบบัส
o Token Passing
เป็นวิธีการที่ใช้หลักการของ ซึ่งเป็นกลุ่มของบิตที่วิ่งวนไปตามโหนดต่าง ๆ รอบเครือจ่าย แต่ละโหนดจะตอยตรวจสอบรับข่าวสารที่ส่งมาถึงตนจากใน และในกรณีที่ต้องการส่งข้อมูลก็จะตรวจสอบว่า ว่างอยู่หรือไม่ หากว่างอยู่ก็จะทำการใส่ข้อมูลพร้อมระบุปลายทางเข้าไปใน นั้น และปล่อยให้ วิ่งวนต่อไปในเครือข่าย วิธีในการเข้าใช้สื่อชนิดนี้จะพบมากในโรงสร้างแบบบัส (Token Bus) และแบบวงแหวน (Token ring)
· มาตรฐานระบบเครือข่ายแบบ LAN ชนิดต่าง ๆ
โดยปกติแล้ว ในการออกแบบการเชื่อมต่อระบบ Lan จะต้องคำนึงถึงลักษณะโครงสร้าง (Topology) สื่อกลาง (Media) และวิธีในการเข้าใช้สื่อกลาง (Media Access Methed) ซึ่งจะมีความเหมาะสมในการนำมาประกอบกันเพื่อใช้งานแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี เพื่อให้การเชื่อมต่อระบบ มีมาตรฐานและสามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ทำให้มีองค์กรกำหนดมาตรฐานได้กำหนดมาตรฐานของระบบเครือข่ายแบบต่าง ๆ ออกมา ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและมีการใช้งานอย่างกว้างขวางคือ
o IEEE 802.3 และ Ethernet
ระบบเครือข่าย Ethernet ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซีรอกซ์ในปลายทศวรรษ 1970 และในปี 1980 บริษัท Digital Equipment , Intel และ Xeror ได้ร่วมกันออกระบบ Ethernet I ซึ่งใช้งานกับสาย และต่อมาในปี ก็ได้ทำการพัฒนาเป็น Ethernet II ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่ถูกใช้งานมากที่สุดแบบหนึ่ง จากนั้นองค์กรมาตรฐาน จึงได้ออกข้อกำหนดมาตรฐาน IEEE 802.3 โดยใช้ Ethernet II เป็นรากฐาน โดยมีจุดแตกต่างจาก เล็กน้อย แต่หลักการใหญ่ ๆ จะคล้ายคลึงกัน คือ ใช้ Access Method และ CSMA/CD และใช้ Topology แบบ Bus หรือ Star (Ethernet II จะเป็น Bus เท่านั้น)
นอกจากมาตรฐาน IEEE 802.3 ยังได้ร่างมาตรฐานการใช้สื่อในระดับกายภาพ (Physical) แบบต่าง ๆ ทำให้สามารถใช้สายเคเบิลในระดับการยภาพแบบได้หลายแบบ โดยไม่ต้องเปลี่ยสในส่วยของ Data link ขึ้นไป เช่น 10Base5 , 10BaseT โดย "10" หมายถึงความเร็ว 10 Mbps ส่วน "Baseband" หมายถึง ("Borad" คือ Boardband) และในส่วนสุดท้ายนั้น ในช่วงแรก "5" หมายวถึงระยะไกลสุดที่สามารถเชื่อมต่อมีหน่วยเป็นเมตรคูณร้อย ในที่นี้คือ 500 เมตร แต่ต่อมาได้มีการใช้ความหมายของส่วสนนี้เพิ่มเติมเป็นชนิดของสาย เช่น "T" หมายถึง ใช้สาย Twisted Pair และ "F" หมายถึง Fiber
ในปัจจบัน ยังมีมาตรฐาน IEEE 802.3 ซึ่งได้ขยายครอบคลุมความเร็วระดับ 100 Mbps ด้วย นั่นคือ มาตรฐาน Fast Ethernet โดยจะประกอบด้วย 100BaseTX ซึ่งเป็นสาย UTP Category 5 เชื่อมต่อได้ไกล 100 เมตรต่อเซกเมนต์ และ 100BaseFX ซึ่งใช้สาย เชื่อมต่อได้ไกลถึง 412 เมตรต่อเซกเมนต์ นอกจากนี้ ทาง IEEE ยังกำลังพิจารณาร่างมาตรฐาน 802.3z หรือ Gigabit Ethernet โดยการทำการขยายความเร้ซในการเชื่อต่อขึ้นไปถึง 1000 Mbps (1 Gigabit/seconds)
o IEEE 802.4 และ Token Bus
ระบบเครื่อข่ายแบบ Token Bus จะใช้ Access Protocal แบบ Token Passing และ Topology ทางกายภาพเป็นแบบ Bus แต่จะมีการใช้โทโปโลยีทางตรรกเป็นแบบ Ring เพื่อให้แต่ละโหนดรู้จัดตำแหน่งของตนเองและโหนดข้างเคียง จึงทำการผ่าน Token ได้อย่างถูกต้อง
o IEEE 802.5 และ Token Ring
ระบบเครือข่ายแบบ Token Ring ได้รับการพัฒนาโดย IBM จะใช้ Access Method แบบ Token Passing และTopology แบบ Ring สามารถใช้ได้กับกับสาย STP,UTP,Coaxial และ Fiber Optic มาตรฐานความเร็วจะมี 2 แบบ คือ 4 Mbps และ 16 Mbps
o FDDI (Fiber Distributed Data Interface)
เป็นมาตรฐานเครือข่ายความเร็วสูงที่พัฒนาขึ้นโดย ANSI (American Nation Stadards Instiute) ทำงานที่ความเร็ว 100 Mbps ใช้สายเคเบิลแบบ Fiber Optic ใช้ Access Method แบบ Token-passing และใช้ Topology แบบ วงแหวนคู่ (Dual Ring) ซึ่งช่วยทำให้ทนทานต่อข้อบกพร่อง (fault tolerance) ของระบบเครือข่ายได้ดีขึ้น โดยอาจใช้ Ring หนึ่งเป็น Backup หรืออาจใช้ 2 Ring ในการรับส่งข้อมูลก็ได้
· โปรโตคอลของระบบเครือข่าย (Network Protocal)
โปรโตคอลของระบบเครือข่าย (Network Protocal) หรือที่นิยมเรียกกันว่า โปรโตคอลสแตก (Protocal stack) ก็คือชุดชองกฎหรือข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อให้แต่ละสถานีในเครือข่ายสามารถรับส่งข้อมูลระหว่ากันได้อย่างถูกต้อง โดยโปรโตคอลของระบบเครือข่ายส่วนมากจะทำงานอยู่ในระดับ และ ใน และทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่าแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC) กับ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS)
ระบบเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะมีโปรโตคอลสแตกที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอยู่หลายโปรโตคอล ซึ่งแต่ละโปรโตคอลก็จะใช้จัดการในงานของเครือข่ายคล้าย ๆ กัน และในกรณีที่ระบบเครือข่ายเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์หลายแบบ จะสามารถใช้งานหลาย ๆ โปรโตคอลแสตก พร้อมกันผ่านเครือข่ายได้ เช่น ใช้ IPX/SPX สำหรับ Network และใช้ TCP/IP ในการติดต่อกับ UNIX ผ่าน LAN แบบ Ethernet พร้อม ๆ กัน เป็นต้น
ตัวอย่างของโปรโตคอลแสตกที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน คือ
o NetBIOS และ NetBUIE
โปรโตคอล NetBIOS (Network Basic INput/Output System) พัมนาร่วมกันโดย IBM และ Microsoft มีการใช้งานอยู่ในเครือข่าย หลาย ๆ ชนิด อย่างไรก็ดี NetBIOS เป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ในระดับ Session Layer เท่านั้น จึงไม่ได้เป็นโปรโตคอลสำหรับเครือข่ายโดยสมบูรณ์ จึงได้พัฒนาโปรโตคอล NetBUIE (Network Extended User Interface) ซึ่งเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมของ NetBIOS ที่ทำงานอยู่ใน Network Layer และ Transport Layer จะพบการใช้งานได้ใน Windows for Workgroups และ Windows NT
o IPX/SPX
เป็นโปรโตคอลของบริษัท Novell ซึ่งพัฒนาขึ้นมาใช้กับ Netware มีพื้นฐานมาจากโปรโตคอล XNS (Xerox Network Services) ของบริษัท Xerox โปรโตคอล IPX (Internerworl Packet Exchange) จะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน Network Layer ใช้จัดการการแลกเปลี่ยน packet ภายใน Network ทั้งในส่วนของการหาปลายทางและการจัดส่ง packet ส่วน SPX (Sequenced Packet Exchange) จะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน Transport Layer โดยมีหน้าที่ในการจัดการให้ข้อมูลส่งไปถึงจุดหมายได้อย่างแน่นอน

o TCP/IP
เป็นโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนามาจากทุนวิจัยของ U.S. Department of Defense's Advanced Research Project Agency (DARPA) ได้รับการใช้งานกันมากใน Internet และระบบ UNIX แบบต่าง ๆ ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นโปรโตคอลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ โดยมีการใช้งานมากทั้งใน LAN และ WAN โปรโตคอล TCP/IP จะเป็นชุดของโปรโตคอลซึ่งรับหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ กัน และมีการแบ่งเป็น 2 ระดับ (layer) คือ
§ IP Layer เป็นโปรโตคอลที่อยู่ในระดับต่ำกว่า TCP อาจเทียบได้กับ Network Layer ใน OSI Referance MOdel ตัวอย่างโปรโตคอลที่อยู่ในระดับนี้คือ IP(Internet Protocal) , ARP (Address Resolution Protocal) , RIP (Roution Information Protocal) เป็นต้น
§ TCP Layer เป็นโปรโตคอลที่อยู่ในระดับสูงกว่า IP เทียบได้กับ Transport Layer ของ OSI Referance MOdel ตัวอย่างโปรโตคอลใน Layer นี้ TCP (Transport Control Protocal) , UDP (User Datagram Protocal) เช่น เป็นต้น


แวน หรือ ข่ายงานบริเวณกว้าง (อังกฤษ: Wide area network หรือ WAN) คือ ข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะอยู่ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานสาขาย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ที่อยู่ห่างกันไกล อาจจะอยู่กันคนละที่หรือคนละเมืองกัน แต่ติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง หรือโดยการใช้การส่งสัญญาณ ผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้ ข่ายงานแต่ละข่ายงานจะอยู่ห่างกันประมาณ 2 ไมล์ซึ่งไกลกว่า ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ แลน ที่อาจอยู่ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน แวนไร้สาย (wireless wide area network) ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สาย
ผู้รับผิดชอบทางด้านเครือข่ายขององค์การต้องขอใช้บริการต่างๆ เช่น บริการเชื่อมต่อผ่านทางเฟรมรีเลย์ (Frame Relay) คู่สายวงจรเช่า (Leased Line) หรือ ISDN ผู้ให้บริการในประเทศไทยก็มีอยู่หลายที่เหมือนกันที่สามารถให้บริการได้เช่น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), ดาต้าเน็ด, องค์การโทรศัพท์, บริษัทคอม, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
เทคโนโลยีแวน แตกต่างจากแลนมาก แลนส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานรองรับส่วนเทคโนโลยีแวน จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สร้างมาจากหลายบริษัทบางส่วนก็มีมาตรฐาน บางส่วนก็เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัทนั้นๆ ก็แตกต่างกันไปทางด้านลักษณะ ด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ และก็ราคาด้วย สิ่งที่คิดว่ายากที่สุดในการสร้างเครือข่ายแวน ก็คือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถทำงานร่วมกันได้ และสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันได้
ข่ายงานวิทยุสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเครื่องรับที่ใช้ในการรับและส่งข้อความไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การกระจายเสียงข่าว และแฟ้มข้อมูล ถึงแม้ในขณะนี้ข่ายงานลักษณะนี้จะมีการทำงานได้ในวงจรจำกัด เพียงในเนื้อที่เมืองหลวงก็ตาม แต่ในอนาคตเมื่อมีการนำระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเข้ามาใช้ ก็จะทำให้ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สายนี้สามารถสื่อสารข้อมูลได้ครอบคลุมกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีแวน มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
1. ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility)
2. อุปกรณ์เครือข่าย เช่น Switch, Router, CSU/DSU (Channel Dervice Unit/Data Service Unit)
3. ระบบจัดการที่อยู่ (Internet work Addressing)
4. โพรโทคอลจัดเส้นทาง (Routing Protocol)

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เซิร์ฟเวอร์ (Server) เป็นคอมพิวเตอร์แม่ข่าย คอยให้บริการข้อมูล และทรัพยากรอื่นๆ


2. สถานีงาน (Workstation) หรือโหนด (Node) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการติดต่อ เข้าเครือข่าย LAN


3. Network Adapter Card จะทำงานกับ ซอฟต์แวร์เครือข่ายและระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์เพื่อส่งและรับข้อมูลข่าวสารบนเครือข่าย LAN ทั้ง Workstation และ Server แต่ละเครื่องจะมี Network Adapter Card อยู่ภายในเครื่อง โดยทั่วไปจะถูกใส่ลงในช่องขยายระบบ (expansion slot) และเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณ

















4. Hub and Switch ใช้เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายแบบดาว Hub รุ่นใหม่ๆ จะรวมตัวขยายสัญญาณ (Repeater) ไว้ในตัวด้วย Hub มีหลายแบบ เช่น 24 พอร์ต 16 พอร์ต 8 พอร์ต และ 4 พอร์ต บางครั้งสำหรับบางเครือข่ายอาจไม่จำเป็นต้องใช้ Hub ก็ได้ เช่น เครือข่าย แบบบัส เป็นต้น




















5. หัว RJ-45 ใช้เชื่อมต่อกับสาย UTP ใช้กับการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบ LAN แบบ Ethernets










6. คีมเข้าหัว RJ-45 ใช้สำหรับบีบหัว RJ-45 กับสาย UTP ให้เชื่อมต่อกัน















7. สายสัญญาณ ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่าง Hub กับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ลูกข่าย สายสัญญาณมีอยู่หลายแบบ เช่น สายโคแอกเชียล สายคู่บิดเกลียวไม่มี ชิลด์ (UTP) เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นต้น






สาย UTP

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัวผู้จัดทำ

ชื่อ - สกุล
นางสาว จิตสุภา สมิทธิสมบูรณ์
เกิดวันที่
22 เดือน กันยายน พ.ศ 2532
ที่อยู่ปัจจุบัน
86/3 ม. 7 ตำบล บางแคเหนือ เขต บางแค กรุงเทพ ฯ 10160
สุขภาพ
ดี
โรคประจำตัว
ไม่มี
เคยแพ้ยา
ไม่มี
มือถืออาจารย์ที่ปรึกษา
0866035317

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การทำนามบัตรใบประกาศและใบโฆษณา




















โฆษณา





















นามบัตร 10 ใบ












นามบัตร




















นามบัตร 12 ใบ

















ใบประกาศ E


















ใบประกาศไทย

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บทที่3

click to comment

บทที่2 เรื่องทำความรู้จักกับโปรแกรม Adobe PageMaker

1 แถบชื่อเรื่อง (Title Bar)
2.แถบเมนู (Title Bar)
3.แถบเครื่องมือ (Tool Bar)
4.กล่องเครื่องมือ (Tools Box)
5.พื้นหน้ากระดาษ (Artboard)
6.ไม้บรรทัดแนวตั้ง (Vertical Ruler)
7.เส้นแสดงกรอบกระดาษ (Guideline Margin)
8.พื้นที่กระดาษทด (Pasteboard)
9.แผงควบคุม (Control Palette)
10.แถบเลื่อนแนวตั้ง (Vertical Scroll bar)
11หน้าต้นแบบ (Master Page)
12.หน้ากระดาษ ( Page Icon)
13.แถบเลื่อนแนวนอน(Horizontal Scroll bar)

บทที่1 เรื่องทำความรู้จักกับสื่อสื่งพิมพ์

1.สื่อสิ่งพิมพ์หมายถึง

--สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัวหนังสือที่เป็นตัวเขียน หรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ

2.จงบอกประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่แบ่งตามระบบการผลิต

--ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
- หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง
- หนังสือบันเทิงคดี
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับควา เพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้
สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
- หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและ
ความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน
- วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน
- จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษา
หาความรู้ มีกำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ
- สิ่งพิมพ์โฆษณา
- โบร์ชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่ม
จำนวน 8 หน้าเป็น อย่างน้อย มีปกหน้าและปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า
- ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศหรือโฆษณา มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย
- แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้น
เป็นเนื้อหา ที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ
- ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ
สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง
สิ่งพิมพ์มีค่า
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเป็นกำหนดตามกฎหมาย เช่น ธนาณัติ, บัตรเครดิต, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน, หนังสือเดินทาง, โฉนด เป็นต้น


3.จงบอกประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่แบ่งตามลักษณะ


--สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน ได้แก่ นามบัตร, บัตรอวยพร, ปฎิทิน,บัตรเชิญ,ใบส่งของ,ใบเสร็จรับเงิน,สิ่งพิมพ์บนแก้ว ,สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น
สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น


4.คอมพิวเตอร์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

--ใช้ออกแบบ ตกแต่ง และพิมพ์


5.จงอธิบายขั้นตอนหรือกระบวนการในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

--การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สามารถจัดลำดับได้เป็นขั้นตอนหรือ "กระบวนการ" ให้เห็นภาพตั้งแต่เริ่มต้นทำงานจนสำเร็จให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้
กระบวนการหมายถึง "กรรมวิธี" หรือ ลำดับการกระทำซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไปจนถึงสำเร็จลง ระดับหนึ่งมาจากภาษาอังกฤษคำว่า "Process"
กระบวนการในขั้นตอนของการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆด้วยกัน (จันทนา ทองประยรู, 2537 : 21) ได้เแก่ งานก่อนพิมพ์ (Prepress Work) งานพิมพ์ (Press Work) และงานทำสำเร็จ (Finishing After Press Work)


6.อุปกรณ์หลักๆที่ใช้ในการจัดเตรียมArt Work ประกอบด้วยอะไรบ้าง

--โปรแกรม Pagemaker

กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

1. เริ่มต้นรู้จักกับการสร้างสิ่งพิมพ์
1.1. กระบวนการผลิตงานสิ่งพิมพ์จะประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย เชํน การเตรียมไฟล์งาน การจัดการกับภาพ กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ เพื่อให๎ได๎เป็นผลงานในรูปแบบที่ต้องการ

1.2. การเตรียมงานพิมพ์ เริ่มแรกระบบการพิมพ์จะใช้ชำงศิลป์ ชำงเลย์ฟิล์ม และชำงทำแมํพิมพ์ ตํอมาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได๎เข๎ามามีบทบาททำให๎สามารถสร้างสรรค์งานสิ่งพิมพ์ได้สะดวกงำย แตํปัญหาที่ตามมาคือ ไฟล์ต้นฉบับที่สํงมาไมํสอดคล้องกับมาตรฐานการทำงานของทางโรงพิมพ์ ดังนั้น ผู๎สร้างสิ่งพิมพ์เรียบร้อย ต้องการสํงงานเพื่อจัดพิมพ์ให้เป็นผลงาน ต้องพิจารณา

1.2.1. สํงไฟล์ข้อมูล ไฟล์ภาพ หรือฟอนต์ ให้กับทางโรงพิมพ์

1.2.2. ความละเอียดของไฟล์ไฟล์ที่สํงไป

1.2.3. โปรแกรมที่เหมาะสมกับการทำงาน เชํน พิมพ์ข้อความผำนโปรแกรม Word สร้างภาพจากโปรแกรม Illustrator ตกแต่งภาพด้วย Photoshop จัดและนำข้อมูลมาประกอบลงบนหน้าสิ่งพิมพ์ด้วยโปรแกรม PageMaker เป็นต้น

2. เรื่องภาพกับการพิมพ์

2.1.1. การนำภาพมาประกอบลงบนสิ่งพิมพ์ เชํน สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล แผํนซีดี อินเทอร์เน็ต ใช้โปรแกรมจับภาพ หรือแม้แตํการสร้างภาพที่ต้องการขึ้นมาเอง

2.1.2. ความแตกตำงของภาพเวกเตอร์ และ บิตแม็พ ภาพทุกภาพจะแบํงออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ภาพเวกเตอร์ เกิดจากการคำนวณคำทางคณิตศาสตร์ สร้างขึ้นด้วยโปรแกรม Illustrator ,Corel Draw Freehand ภาพที่ได๎ลักษณะเป็นการ์ตูน เรียกวำ Clip Art ข้อดีของภาพเวกเตอร์ ไฟล์มีขนาดเล็ก มีความคมชัด และ ภาพบิตแม็พ เกิดจากพิกเซล (Pixel) เป็นชํองสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียงตํอกัน เมื่อขยายขนาดจะสํงผลทำให้คุณภาพของงานลดลง เหมาะกับงานที่ต๎องการความละเอียดสีมาก ๆ เชํน รูปถำย

2.1.3. ความละเอียดที่เหมาะสมของภาพ ภาพสแกนหรือใช้โปรแกรมจับภาพ ความละเอียด 300 dpi (dot per Inch) สํวนภาพจากกล๎องดิจิตอล ความละเอียดระดับปานกลาง 2-5 ล้านพิกเซล สํวนความละเอียดสูง 6 ล้านพิกเซลขึ้นไป

2.1.4. โหมดสี RGB และ CMYK โดยปกติภาพที่นำเข้ามาใช้งานอยูํโหมด RGB ( Red-Green-Blue) เป็นโหมดแสดงบนหน้าจอ
ทั่วไป ถ้ำสํงไฟล์งานให้โรงพิมพ์ ต้องกำหนดเป็นโหมด CMYK(Cyan-Magenta-Yellow-Black) แทนเนื่องจาก ภาพโหมด RGB มีความสวำงมากกวำ CMYK สามารถปรับโหมดสีด้วยโปรแกรมตกแตํงภาพ เชํน Photoshop เมนู Image-->Mode-->CMYK Color

2.1.5. การบันทึกไฟล์ภาพ ที่เหมาะสมกับการสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ ได้แกํ TIFF และ EPS ดังนี้ TIFF (Tag Image File Format) เป็นรูปแบบ/ฟอร์แมตที่นิยมในการสร้างสิ่งพิมพ์ เนื่องจากรองรับการแสดงผลบนหน้าจอ ภาพที่ได้จะมีลักษณะเป็นบิตแม็พ EPS (Encapsulated PostScript) เหมาะกับการสํงโรงพิมพ์ เป็นการคำนวณคำสี ตามแบบของโรงพิมพ์ 4 สี หรือที่เรียกวำ CMYK รองรับทั้งเวกเตอร์ และบิตแม็พ แตํถ้ำแสดงผลบนหน้าจอจะมีความละเอียดที่ต่ำแคํ 256 สีเทำนั้น

3. ขนาดของกระดาษมาตรฐานสำหรับงานพิมพ์ ควรคำนึงถึงขนาดกระดาษมาตรฐานที่มีให๎เลือกใช้งาน
แบํงออกเป็น 3 ชุด คือ A B แล C สำหรับ A,B เป็นกระดาษแผํนใหญํ เหมาะกับการจัดทำหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ทั่วไป สํวน C เป็นขนาดของซองกระดาษ

4. คำแนะนำในการจัดทำหนังสือ การผลิตหนังสือ นิตยสาร จุลสาร วารสาร แมกกาซีน หรือพ็อกเก็ตบุคส์ เพื่อวางจำหนำยตามท้องตลาดทั่วไป สิ่งที่ควรพิจารณากํอนที่จะจัดทำคือ

4.1. ต้องรู๎วำจะจัดทำหนังสือประเภทใดเชํน คอมพิวเตอร์ ทํองเที่ยว อาหาร บันเทิง เป็นต้น

4.2. กำหนดกลุ่มํเป้าหมายให้ชัดเจน เป็นเด็ก วัยรุ่ํน หรือผู้๎อำนมีความเชี่ยวชาญระดับใด

4.3. ดูแหลํงที่มาของรายได้ เน้นมาจากโฆษณา ไมํควรพิมพ์เยอะ แตํถ้ามาจากยอดจำหนำยต้องเน้นสํวนของเนื้อหาแทน

4.4. การออกแบบรูปเลํมของหนังสือ เพื่อให้ดูโดดเดํนสามารถแขํงกับหนังสือเลํมอื่นที่มีอยูํในท้องตลาด

4.5. พิมพ์จากกระดาษที่มีคุณภาพ เชํน ขาวสะอาด ขาวหมํน หนา

4.6. รูปแบบการพิมพ์ ขาว-ดำ ต้นทุนในการพิมพ์ลดลง พิมพ์ 4 สี ชํวยความนำสนใจ การพิมพ์ก็จะสูงขึ้น

4.7. การกำหนดราคาขาย สำหรับหนังสือทั่วไป พิจารณาเปรียบเทียบจากคูํแขํง หากเป็นหนังสือเฉพาะด้าน ไมํมีการลงโฆษณา หรือไมํมีทั่วไปในท้องตลาด สามารถกำหนดราคาขายให้สูงกวำได้

4.8. การจัดจำหนำย ทำโดยผำนบริษัทตำง ๆ ที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรง ซึ่งจะชํวยประหยัดเวลา บุคลากรและคำใช๎จำยอื่น ๆ

5. ประเภทและตัวอย่างการสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ สิ่งพิมพ์แบํงเป็น 2 ประเภท คือสิ่งพิมพ์ 2 มิติ คือมีลักษณะเป็นแผํนราบ ใช้วัสดุจำพวกกระดาษ ตัวอยำงเชํน หนังสือ นิตยสาร วารสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ แผํนพับ โบรชัวร์ โปสเตอร์ ใบปลิว นามบัตร เป็นต๎น และสิ่งพิมพ์ 3 มิติ มีลักษณะพิเศษต้องอาศัยระบบการพิมพ์แบบพิเศษ เป็นการพิมพ์ลงบนผลิตภัณฑ์เป็นรูปทรง เชํน การพิมพ์สกรีนบนภาชนะตำง ๆ กระป๋อง แก้ว พลาสติก การพิมพ์ระบบแพดบนภาชนะที่มีผิวตำงระดับ เชํน เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปั้นดินเผา งานเซรามิก การพิมพ์ระบบพํนหมึก เชํน การพิมพ์วันหมดอายุของอาหารกระป๋องตำง ๆ

6. กระบวนการในการผลิตสิ่งพิมพ์

6.1. หลังจากสร้างผลงานพร้อมทั้งจัดเตรียมไฟล์ตำง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน จะต้องจัดหาโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์ผลงาน โดยมีกระบวนการดังนี้

ติดตํองาน
กำหนดลักษณะงาน
- ขนาด - จ านวนพิมพ์ - ลักษณะกระดาษ - ระบบการพิมพ์
ประเมินราคา
ทำข้อตกลง
กระบวนการจัดพิมพ์
งานกํอนกระบวนการพิมพ์สิ่งพิมพ์ งานในกระบวนการพิมพ์สิ่งพิมพ์
งานวางแผน งานบรรณาธิการ งานกํอนพิมพ์ งานพิมพ์ งานหลังพิมพ์
-ระบุลักษณะงาน -ออกแบบจัดหน๎า -ตกแตํงภาพ -ออฟเซต - ตัด - กะต้นฉบับให๎กับเนื้อที่-ตรวจแก้ไข -จัดประกอบแบบ -เลดเดอร์เพรลส์- พับ - ระบุเวลาแล้วเสร็จ -เตรียมต้นฉบับ -แยกสี -เฟล็กโซกราฟี - ปั้ม -กำหนดรายละเอียด -ปรุฟ -กราวัวร์ - ปะ -ฟิล์ม -อินทาลโย - เข้าเลํม -เพลต -ฉลุลายผ้า - ประกบ


6.2. อ้างอิงเว็บไซต์ทางด้านกราฟิกสิ่งพิมพ์ที่ควรรู๎จัก

6.2.1. http://www.adobe.com เว็บไซต์ผู๎ผลิตซอฟต์แวร์ PageMaker , Acrobat, Photoshop ,Illustrator InDesign ฯลฯ เป็นผลิตภัณฑ์จากบริษัท Adobe

6.2.2. http://www.macdd.com รวบรวมข๎อมูลขำวสารและบทความตำง ๆ เพื่อการใช๎งานทางด๎านกราฟิกสิ่งพิมพ์ทั้ง Mac และ PC

6.2.3. http://www.thaiprint.com แสดงลิงก์และรายละเอียดที่เกี่ยวข๎องเพื่อให๎การสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์เป็นไปอยำงมืออาชีพ

6.2.4. http://www.pdfthai.com เว็บที่ให๎รายละเอียดเกี่ยวกับการใช๎งาน และปัญหาที่พบเกี่ยวกับการแปลงไฟล์ PDF รวมถึงเทคนิคในการทำงานกับโปรแกรม Acrobat

6.2.5. http://www.stou.ac.th/thai/train/train_pt เว็บของผู้สนใจต้องการเข้ารับการฝึกอบรมและทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์โดยเฉพาะ

6.2.6. http://www.indesignthai.com เว็บสำหรับผู๎ที่ต้องการหาความรู้๎เพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม InDesign